Tag

การลงทุน

Browsing

ในบทความพิเศษชิ้นนี้ ผมอยากที่จะมาเล่าถึงแนวคิดที่มีประโยชน์ จากการได้ลองผิดลองถูกกับการสร้างบริษัทแบบ Remote Company และการทำงานแบบ Work From Home (WFH) ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของทีมงาน SiamQuant ให้ทุกคนได้อ่านกัน เพื่อให้เป็น Shortcut ในการบริหารจัดการและการทำงานแบบ WFH ให้กับทุกๆท่านครับ

ร้อยละ 99% ของนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นมักคิดว่าวิธีการในการทำกำไรจากตลาดหุ้นที่ดีที่สุดนั้น คือการพยายามหาข้อมูลข่าวสารที่เร็วกว่า, ลึกกว่า และทำการวิเคราะห์ให้ดีกว่านักลงทุนคนอื่นๆในตลาด อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้กลับมีข้อเสียซึ่งถือเป็นจุดบอดในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวอย่างที่คุณอาจคิดไม่ถึง และนี่คือสิ่งที่ผมอยากจะเล่าให้ฟัง รวมถึงแนะนำหนทางในการแก้ไขกันในวันนี้ครับ 🙂

โดยใน Episode ที่ 3.2 นี้จะเป็นการคุยกันต่อไปถึง ความเข้าใจในเรื่องของ Under Performance Period ของกลยุทธ์การลงทุนอย่างถูกต้องที่จะช่วยยกระดับจิตวิทยาการลงทุนของคุณ และช่วยให้คุณสามารถทำตามแผนการณ์และกลยุทธ์การลงทุนของคุณได้อย่างมีวินัยในระยะยาว

“ถ้าความสำเร็จ (ในการทำธุรกิจ) ดีใจได้วันเดียว แล้วความสำเร็จในตลาดหุ้นหล่ะ เราจะดีใจได้กี่วัน?” ซึ่งสิ่งที่เราได้ค้นพบจากค่าสถิตินั้นมันช่างเป็นการ หักดิบความเชื่อเดิมๆของนักลงทุนที่มีต่อการลงทุนไปอย่างสิ้นเชิง

คุณเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่าตลาดวิ่งขึ้นแต่พอร์ตของเรากลับไม่ไปไหน หรือตลาดลงไม่เท่าไหร่แต่พอร์ตของเราดันลงหนักกว่าซะงั้นบ้างไหมครับ? ผมแน่ใจ 99.99% ว่าถ้าคุณลงทุนมานานพอมันจะต้องเคยเกิดขึ้นกับคุณบ้างแน่ๆ ซึ่งหากว่าคุณเคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้อยู่บ่อยๆจนต้องเป็นทุกข์ในการลงทุน หรือเปลี่ยนกลยุทธ์ไปๆมาๆแล้วล่ะก็ ผมขอแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ เพราะจะช่วยให้คุณเกิดความเข้าใจ และรู้ว่าจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ

สืบเนื่องจากการที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่ง CP ได้ใช้ชื่อหนังสือว่า “ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว” เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจสำหรับนักธุรกิจทั้งหลาย มันจึงทำให้ผมมีไอเดียที่อยากจะแชร์ข้อมูลในมุมมองของนักลงทุนกันดูบ้างว่าอันที่จริงแล้วนั้น นักลงทุนอย่างพวกเราจะมีโอกาสดีใจกับความสำเร็จในตลาดหุ้นกันได้สักกี่วัน? (และอาจจะต้องเสียใจกันสักกี่วัน) ซึ่งผมเชื่อว่าจะทำให้หลายๆคนมีความคาดหวังที่สมจริง และช่วยยกระดับจิตวิทยาการลงทุนให้กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อยครับ

เนื่องจากเราค่อนข้างมั่นใจว่าในปีนี้นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มีผลการลงทุนที่ไม่ค่อยจะดีนัก ทำให้นักลงทุนหลายๆคนที่ตั้งใจลงทุนอย่างมีหลักการเกิดความท้อแท้และรู้สึกหมดกำลังใจในการลงทุนไปพอสมควร เราจึงอยากที่จะแชร์แนวคิดในการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้วยปัจจัยหนุนนำในระดับเบื้องต้น (Factor Analysis) ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจที่มาที่ไปของผลตอบแทนที่เกิดขึ้น และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการลงทุนในหลายๆแนวทางอีกด้วยครับ 😀