Category

องค์ความรู้จากการลงทุนอย่างเป็นระบบ

Category

บทวิจัยเกี่ยวกับตลาดหุ้น และแนวคิดในการลงทุนอย่างเป็นระบบ

นักลงทุนส่วนมากมักเข้าใจว่า Trade Max DD จะใกล้เคียงกับ Max DD ของกลยุทธ์ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับไม่ได้เช่นนั้น ซึ่งจะเป็นเช่นไรนั้น เราไปติดตามกันเลยครับ

ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักความเสี่ยงเชิงระบบ (Systematic Risk), แนวทางการแก้ไขด้วยการทำ Asset Allocation และประโยชน์ของการกระจายการลงทุนไปถือสินทรัพย์ที่มีค่า Correlation ต่างกันครับ

นักลงทุนจำนวนมากทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าต่างก็มักมีความเชื่อว่า การสลับปรับเปลื่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้มีความเหมาะสมกับสภาพตลาดอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นกุญแจของการสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน โดยในบทความนี้ เราจะมาทดสอบวิจัยให้รู้ถึงผลกระทบของความพยายามในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้เป็นกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดตามสภาวะตลาด ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนอย่างที่พวกเราเชื่อกันหรือไม่? ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นสามารถติดตามอ่านได้เลยครับ!

คุณเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่าตลาดวิ่งขึ้นแต่พอร์ตของเรากลับไม่ไปไหน หรือตลาดลงไม่เท่าไหร่แต่พอร์ตของเราดันลงหนักกว่าซะงั้นบ้างไหมครับ? ผมแน่ใจ 99.99% ว่าถ้าคุณลงทุนมานานพอมันจะต้องเคยเกิดขึ้นกับคุณบ้างแน่ๆ ซึ่งหากว่าคุณเคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้อยู่บ่อยๆจนต้องเป็นทุกข์ในการลงทุน หรือเปลี่ยนกลยุทธ์ไปๆมาๆแล้วล่ะก็ ผมขอแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ เพราะจะช่วยให้คุณเกิดความเข้าใจ และรู้ว่าจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ

สืบเนื่องจากการที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่ง CP ได้ใช้ชื่อหนังสือว่า “ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว” เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจสำหรับนักธุรกิจทั้งหลาย มันจึงทำให้ผมมีไอเดียที่อยากจะแชร์ข้อมูลในมุมมองของนักลงทุนกันดูบ้างว่าอันที่จริงแล้วนั้น นักลงทุนอย่างพวกเราจะมีโอกาสดีใจกับความสำเร็จในตลาดหุ้นกันได้สักกี่วัน? (และอาจจะต้องเสียใจกันสักกี่วัน) ซึ่งผมเชื่อว่าจะทำให้หลายๆคนมีความคาดหวังที่สมจริง และช่วยยกระดับจิตวิทยาการลงทุนให้กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อยครับ

เราควรจะ “กระจายความเสี่ยง” หรือไม่ และเราควรจะกระจายความเสี่ยงมากสักแค่ไหน? แล้วมันมีประโยชน์จริงๆหรือ? ในบทความนี้ ผมจะแสดงให้พวกเราทุกคนได้เห็นถึงผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบของมันให้เห็นกันอย่างชัดเจน ด้วยการทดสอบถึงหลักการกระจายความเสี่ยงในตลาดหุ้นไทยกันครับ! 

ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าอะไรคือ Invert Yield ? ทำไมนักลงทุนและนักวิเคราะห์ถึงต้องกังวล ? รวมถึงผลกระทบของปรากฏการณ์ Invert Yield ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและสิ่งที่นักลงทุนควรทำเพื่อรับมือกับมัน

หลังจากที่ SET Index ได้สร้างสถิติมูลค่าการซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไปเมื่อวานนี้ (28-05-2019) ทำให้นักลงทุนหลายคนมีข้อสงสัยว่าควรจะทำตัวอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ดี วันนี้เราจะให้คำตอบนั้นด้วยการนำเอาสถิติที่น่าสนใจมาแบบไต๋กันให้ดูกันอย่างชัดเจนและรวดเร็วครับ 😀

ทำไมนักลงทุนบางคนจึงมักติดขาดทุนและดอยแบบซ้ำๆซากๆไม่จบไม่สิ้นกับหุ้นหลายๆตัวเสียทีหนอ? สาเหตุหลักๆอย่างหนึ่งก็เพราะพฤติกรรมการลงทุนของพวกเขาเหล่านั้น ที่มักชอบ “ซื้อหุ้น” หรือ “ไม่ยอมขายหุ้น” ที่มีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน เพราะรู้สึกว่าราคาของพวกมันได้เตี้ยต่ำจนติดดินแล้วนั่นเองในวันนี้ผมจึงอยากที่จะแสดงให้เห็นถึงอันตรายของการชอบซื้อหุ้นที่ดูราคาถูก โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยทางเทคนิคหรือพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะกับสัญญาณหายนะที่เรียกว่า “52 Weeks Low” ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการติดดอยแบบข้ามชาติกันได้นั่นเองครับ!

บทความนี้เกิดขึ้นจากการสอบถามเข้ามาของผู้อ่านท่านหนึ่งที่ติดตาม SiamQuant มาอย่างยาวนาน ได้เสนอแนะให้พวกเราทำการทดสอบแนวคิดจากหนังสือ Quantitative Momentum โดยเราได้พบองค์ความรู้น่าสนใจเกี่ยวกับกลยุทธ์แบบ Momentum ที่จะมาแบ่งปันให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักลงทุนกันครับ